วันพุธที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2555


หน่วยที่ 1 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับนวัตกรรม เทคโนโลยี และสารสนเทศ

ความหมายของนวัตกรรม
นวัตกรรม หรือ นวกรรม  มาจากคำว่า
 “นวหมายถึง   ใหม่
กรรมหมายถึง  การกระทำ
นวัตกรรม” (Innovation) มีรากศัพท์มาจาก innovare ใน ภาษาลาติน แปลว่า ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา
ดังนั้น นวัตกรรม หมายถึง ความคิดและการกระทำใหม่ ๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อนหรือพัฒนาดัดแปลงให้ดีขึ้น
นวัตกรรม แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ
       ระยะที่ 1 มีการประดิษฐ์คิดค้น (Innovation)
       ระยะที่ 2 พัฒนาการ (Development) มีการทดลองในแหล่งทดลองจัดทำอยู่ในลักษณะของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project)
       ระยะที่ 3 การนำเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป ซึ่งจัดว่าเป็นนวัตกรรมขั้นสมบูรณ์
ลักษณะของนวัตกรรม
1.  นวัตกรรมใหม่อย่างสิ้นเชิง(Radical Innovation)
 2. นวัตกรรม ที่มีลักษณะค่อยเป็นค่อยไป เป็น ขบวนการการค้นพบ (discover) หรือ คิดค้นสิ่งใหม่(invent)โดยการประยุกต์

คุณลักษณะของนวัตกรรม
มีผู้อธิบายลักษณะของนวัตกรรมไว้หลายประการพอประมวลโดยสังเขปดังนี้
1. เป็นสิ่งใหม่ทั้งหมดหรือบางส่วน อาจเป็นของเก่าที่ใช้ไม่ได้ผลในอดีต แต่นำมาปรับปรุงเสียใหม่ หรือเป็นของปัจจุบันที่เราทำการปรับปรุงให้ดีขึ้น
2.   มีการนำเอาวิธีการจัดระบบ (systems approach) มาใช้ โดยพิจารณาองค์ประกอบ ส่วนที่เป็นสิ่งป้อนเข้า กระบวนการและผลลัพธ์
3. มีการพิสูจน์ด้วยการวิจัยหรืออยู่ระหว่างการวิจัยว่า นวัตกรรมนั้นจะช่วยแก้ปัญหาหรือช่วยให้งานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
4. ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานในปัจจุบัน
5.  มีการพัฒนาตามขั้นตอน คือ คิดค้น ทดลอง และนำมาใช้
6.   สิ่งที่เป็นนวัตกรรมของที่หนึ่งอาจไม่เป็นนวัตกรรมในที่อื่น ๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับภาวการณ์ใช้นวัตกรรม นั้น ๆ
7.  มีการนำมาใช้จริงในวงการนั้น ๆ
(ชัยยงค์ พรหมวงศ์. 2523 :25 ; ไชยยศ เรืองสุวรรณ. 2521 : 14-15 ; เอกวิทย์ แก้วประดิษฐ์. 2545 : 1

นวัตกรรมมี 2 ประเภท คือ
1. นวัตกรรมที่เป็นสิ่งใหม่ทั้งหมดไม่เคยมีใครรู้จักมาก่อน เพิ่งค้นพบขึ้น
2. นวัตกรรมที่เป็นสิ่งใหม่บางส่วน อาจเป็นของเก่าที่ใช้ไม่ได้ผลในอดีต แต่นำมาปัดฝุ่นปรับปรุงใหม่
หลักสำคัญในการพิจารณาว่าเป็นนวัตกรรม
      1. เป็นความคิดและการกระทำใหม่ทั้งหมดหรือปรับปรุงดัดแปลงจากที่เคยมีมาก่อนแล้ว
2.ความคิดหรือการกระทำนั้นมีการพิสูจน์ด้วยการวิจัยและช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
       3. มีการนำวิธีระบบมาใช้อย่างชัดเจน โดยพิจารณาองค์ประกอบทั้ง 3 ส่วน คือ
ข้อมูลที่ใส่เข้าไป กระบวนการ และผลลัพธ์
       4. ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานปัจจุบัน
 ขั้นตอนของการเกิดนวัตกรรม
        1. ขั้นการประดิษฐ์คิดค้น (Invention)
        2. ขั้นการพัฒนาการ (Development) หรือขั้นการทดลอง (Pilot Project)
        3. ขั้นการนำไปหรือปฏิบัติจริง (Innovation)

หลักสำคัญในการนำนวัตกรรมเข้ามาใช้

       การที่จะรับนวัตกรรมเข้ามาใช้ในสถานที่ใดสถานที่หนึ่งนั้น จำเป็นที่จะต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบถึงประโยชน์ที่จะได้รับ  ความเหมาะสม  ความเป็นไปได้  ตลอดจนความคุ้มค่าของการนำมาใช้โดยคำนึงถึงสิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้ (กิดานันท์  มลิทอง. 2541:246)

แนวคิดที่ทำให้เกิดนวัตกรรมทางการศึกษา

1.             นวัตกรรมนั้นถือเป็นสิ่งแปลกใหม่ จึงส่งผลโดยตรงต่อความท้าทายของผู้ทำการวิจัยที่จะมาทำการวิจัย

2.             ผู้ที่ทำการวิจัยต้องการพิสูจน์เพื่อให้เห็นผลว่าจะสามารถใช้ได้ผลจริงหรือไม่อย่างไร

3.             มีเหตุปัจจัยโดยตรงจากการทดลองและวิจัยเพื่อที่นำมาเพื่อแก้ปัญหาทางการศึกษา

ความหมายของนวัตกรรมการศึกษา

     “นวัตกรรมทางการศึกษา” (Educational Innovation) หมาย ถึง การนำเอาสิ่งใหม่ ๆ ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ การคิดค้นรวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะพัฒนาการศึกษาเดิมให้มีระบบการจัดการศึกษาที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ประเภทของนวัตกรรมการศึกษา มี 5 ประเภท ได้แก่

มีทั้งประเภทที่เป็นนวัตกรรมแบบใหม่หมดและนวัตกรรมที่เป็นแบบใหม่บางส่วนโดยแบ่งเป็น 5 ประเภท ได้แก่

      1.  นวัตกรรมด้านสื่อสารการสอน

      2.  นวัตกรรมด้านวิธีการจัดการเรียนการสอน

      3.  นวัตกรรมด้านหลักสูตร

      4.  นวัตกรรมด้านการวัดและการประเมินผล

      5.  นวัตกรรมด้านการบริหารจัดการ

แนวคิดพื้นฐานของนวัตกรรมทางการศึกษา

      1. ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different)

      2. ความพร้อม (Readiness)

      3. การใช้เวลาเพื่อการศึกษา

      4. ประสิทธิภาพในการเรียน




ความหมายของเทคโนโลยี

      เทคโนโลยี หมายถึง หลักการ เทคนิค ตลอดจนกระบวนการที่นำมาประยุกต์ใช้ในระบบงานต่าง ๆ เพื่อที่จะทำให้งานนั้นมีคุณภาพดีขึ้น และมีประสิทธิภาพ

เทคโนโลยีทางการศึกษา มีความหมายที่กว้างกว่า ซึ่งอาจจะพิจารณาจากความคิดรวบยอดของเทคโนโลยีได้เป็น 2 ประการ คือ1.  ความคิดรวบยอดทางวิทยาศาสตร์กายภาพ  2. ความคิดรวบยอดทางพฤติกรรมศาสตร์

เป้าหมายของเทคโนโลยีการศึกษา

       1. การขยายพิสัยของทรัพยากรของการเรียนรู้             2. การเน้นการเรียนรู้แบบเอกัตบุคคล

       3. การใช้วิธีวิเคราะห์ระบบในการศึกษา                      4. พัฒนาเครื่องมือ-วัสดุอุปกรณ์ทางการศึกษา

เทคโนโลยีทางการศึกษากับการจัดการศึกษา

      เทคโนโลยีทางการศึกษาส่งผลโดยตรงกับการจัดการศึกษา ทำให้ระบบการจัดการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องการเรียนการสอนมีความสำคัญมากยิ่งขึ้น สนองในเรื่องความแตกต่างในระดับบุคลที่สามารถใช้เทคโนโลยีในการสืบค้นข้อมูลทางการศึกษาได้

ประโยชน์เทคโนโลยีทางการศึกษากับการจัดการศึกษา

     1. สามารถทำให้การเรียนการสอนการจัดการศึกษามีความหมายมากขึ้น

     2.  สามารถสนองเรื่องความแตกต่างแต่ละบุคคลได้

     3.  สามารถทำให้การจักการศึกษาตั้งอยู่บนรากฐานของวิธีการทางวิทยาศาสตร์

นวัตกรรมเทคโนโลยีทางการศึกษา  หมายถึง  การนำความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ทั้งวัสดุ อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องจักรกลไก และเทคนิควิธีการต่างๆ มาใช้ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
https://sites.google.com/site/nwatkrrmkarsuksa/_/rsrc/1343315167148/home/image004.gif

แผนภาพแสดงความสัมพันธ์ระหว่างนวัตกรรมการศึกษาและเทคโนโลยีทางการศึกษา

สารสนเทศ หมายถึงข่าวสารที่สำคัญ เป็นระบบข่าวสารที่กำหนดขึ้น และจัดทำขึ้นภายในองค์การต่างๆ

แหล่งที่มาของข้อมูลสารสนเทศ

     1.   ข้อมูลภายใน    2.  ข้อมูลภายนอก

ประเภทของสารสนเทศ

       1. สารสนเทศปฐมภูมิ   2. สารสนเทศทุติยภูมิ   3. สารสนเทศตติยภูมิ

แนวทางในการจัดทำระบบสารสนเทศ

       1.  การเก็บรวบรวมข้อมูล      2. การตรวจสอบข้อมูล         3. การประมวลผล

     4. การจัดเก็บข้อมูล                  5. การวิเคราะห์                     6. การนำไปใช้

คุณค่าของสารสนเทศ

        1. เวลา          2. ความถูกต้อง    3. ความครบถ้วน    4. ความต่อเนื่อง

ความสำคัญของสารสนเทศ

1.             ความสำคัญของสารสนเทศต่อบุคคล   2.  ความสำคัญของสารสนเทศต่อสังคม

ลักษณะสารสนเทศที่ดี

         เนื้อหาความสมบูรณ์ครอบคลุมความสัมพันธ์กับเรื่องมีความถูกต้องความเชื่อถือได้

ประโยชน์ของสารสนเทศ

       สารสนเทศให้ความรู้ทำให้เกิดความคิด และใช้ในการประกอบการตัดสินใจทำงานอย่างมีระบบ ลดความซ้ำซ้อน

แนวโน้มของนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา

       แนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงทางด้านต่างๆ ทั้งเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง มีผลทำให้มีความเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรม ซึ่งเกิดจากการรวมตัวของสื่อ สื่อขนาดเล็ก ความก้าวหน้าของคอมพิวเตอร์เป็นต้น

นวัตกรรมเทคโนโลยีทางการศึกษากับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต

       ซึ่งนวัตกรรมเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เพราะฉะนั้นต้องปรับเปลี่ยนให้เท่ากันกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

ตัวอย่างนวัตกรรมเทคโนโลยีทางการศึกษา

        1. หนังสือการ์ตูนประกอบเสียงดนตรี   2. การเรียนรู้โดยอาศัยแหล่งเรียนรู้เป็นฐาน RBL

        3. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน           4.  การเรียนแบบ มัลติมีเดีย

ประโยชน์ของนวัตกรรมเทคโนโลยีทางการศึกษา

       ทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้เร็ว และช่วยให้บรรยากาศการเรียนสนุกสนาน และช่วยให้ผู้เรียนมีความสนใจ

นวัตกรรมทางการศึกษาที่สำคัญของไทยในปัจจุบัน ( 2546)

      นวัตกรรมเป็นความคิดหรือการกระทำใหม่ๆ ซึ่งนักวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญในแต่ละวงการจะมีการคิดและทำสิ่งใหม่อยู่เสมอ ดังนั้นนวัตกรรมจึงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ได้เรื่อยๆ สิ่งใดที่คิดและทำมานานแล้ว ก็ถือว่าหมดความเป็นนวัตกรรมไป โดยจะมีสิ่งใหม่มาแทน

นวัตกรรมทางการศึกษาต่างๆ ที่กล่าวถึงกันมากในปัจจุบัน

1.  E-learning

2. สื่อประสม (Multi Media)

การนำสื่อประสมมาใช้ในการศึกษา

      สื่อประสมมีประโยชน์ในด้านการศึกษาหลายๆประการ เช่น เป็นการดึงดูดความสนใจของ

ที่สำคัญช่วยให้ผู้เรียนสามารถตรวจสอบย้อนหลังและแก้ไขจุดอ่อนในการเรียนได้

3. สื่อหลายมิติ (Hyper Media )

จุดประสงค์ของการใช้สื่อหลายมิติ

       1. ใช้เป็นเครื่องมือในการสืบค้น  สืบไปในข้อมูลสารสนเทศหรือบทเรียนต่างๆ

       2.  ใช้เพื่อการเชื่อมโยง

       3.  ใช้ในการสร้างบทเรียน

(วิเศษศักดิ์ โคตรอาชา และคณะ,2542:56)

ประโยชน์ของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอน

      ในการเรียนบทเรียนที่เขียนในลักษณะสื่อหลายมิติผู้เรียนสามารถเรียนรู้ข้อมูลจากบทเรียนได้มากมายหลายประเภทในลักษณะต่างๆ